02-349-4600 ต่อ 141 หรือ 136  |  อีเมล: onlinesales@ekkaraj.co.th

Security

Security

2023-04-26 09:22:57   |   ดู 0
เราอยู่ในยุคที่มีการเชื่อมโยงสื่อสารสู่โลก ผ่านสังคมออนไลน์ เราทุกคนก้าวสู่มิติของการใช้ระบบ IT อย่างสมบูรณ์แบบไม่เว้นแม้แต่องค์กรของคุณ ถ้าองค์กรของคุณคือบ้าน ระบบ IT ก็คงเป็นเหมือนหน้าต่าง ที่พาให้คุณมองเห็นและเชื่อมโยงกับโลกภายนอกได้ในเสี้ยววินาที ขณะเดียวกันมันก็นำพาเอาภัยคุกคามเข้ามายังบ้านของคุณได้ภายในเสี้ยววินาทีเช่นกัน ความปลอดภัยของระบบ IT จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญลำดับต้นๆ ขององค์กรของคุณ Security


IT Security 

คือ การรักษาความปลอดภัยทางเทคโนโลยีที่จะต้องมีการรักษาข้อมูลทั้งที่อยู่ในรูปแบบของ Digital Format หรือ Digital Information ให้เป็นความลับ พร้อมใช้งาน และมีการป้องกันความปลอดภัยอย่างเหมาะสม เพื่อให้พร้อมใช้งานภายในองค์กรมากที่สุด


ประเภทของ IT Security

  • Internet Security 
    การรักษาความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต จะช่วยสร้างความมั่นใจในการใช้งานได้ ทั้งในการป้องกันข้อมูลที่มีการรับส่งบนเบราว์เซอร์ต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งบนเว็บแอปพลิเคชัน ที่มีการออกแบบเพื่อตรวจสอบข้อมูล ซึ่งจะช่วยในการป้องกันการโจมตีด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • Network Security
    การรักษาความปลอดภัยภายในเครือข่าย จะช่วยป้องกันและคัดกรองไม่ให้ผู้ใช้ที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือผู้ใช้ที่เป็นอันตรายเข้ามาภายในเครือข่ายได้

  • Application Security 
    สำหรับผู้ใช้งานบนแอปพลิเคชัน สามารถมั่นใจถึงความปลอดภัยได้ เมื่อมีการใช้งาน Application Security เข้ามา เพราะมีระบบสำหรับทำการยืนยันตัวตน อีกทั้งยังช่วยให้บริษัทสามารถประเมินความเสี่ยงของช่องโหว่ต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้
  • Cloud Security
    เข้ามาช่วยเรื่องความปลอดภัยในการใช้งานระบบคลาวด์ยิ่งขึ้น ผ่านการเข้ามาเป็นตัวการ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับระบบ โดยมี gateway ที่ปลอดภัย สามารถจัดการกับภัยคุกคามต่าง ๆ บนคลาวด์ได้อย่างดี
  • Endpoint Security
    เมื่อพูดถึง Endpoint Security นั้น จะเป็นการรักษาความปลอดภัยให้กับอุปกรณ์ปลายทาง เพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์เหล่านั้นเข้าถึงหน้าเว็บไซต์ที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กร ซึ่งเป็นระบบความปลอดภัยที่มีการป้องกันอีกชั้นหนึ่งก่อนเข้าถึงการใช้งาน
IT Security สามารถเจอภัยคุกคามจากอะไรได้บ้าง ?

  1. Ransomware
    หรือไวรัสเรียกค่าไถ่ โดยไวรัสคอมพิวเตอร์ประเภทนี้นั้น สามารถป้องกันได้โดยการติดตั้งโปรแกรม Anti-Virus ที่ต้องอัปเดต และสแกนอยู่เสมอ หรือทำการสำรองข้อมูลที่สำคัญเอาไว้หลายๆแห่ง
  2. Spyware
    มัลแวร์ที่สามารถขโมยข้อมูลจากไดร์ฟผู้ใช้งาน ทั้งข้อมูลส่วนต้ว และไฟล์งาน สามารถป้องกันได้โดย การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวในคอมพิวเตอร์ ไม่เปิดอีเมลจากผู้ที่ไม่รู้จัก และดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บที่ได้รับการยืนยันแล้วเท่านั้น
  3. Viruses
    มัลแวร์ที่สามารถทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ป้องกันได้โดย การไม่เชื่อมต่ออุปกรณ์แปลกๆ ที่ไม่ได้รับการสแกนไวรัสเข้ากับเครื่อง 


ความเหมือนและความต่างระหว่าง Cyber Security และ IT Security

โดยหลักแล้ว Cyber Security และ IT Security ต่างมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญร่วมกัน คือ การรักษาความปลอดภัยและป้องกันระบบไม่ให้ถูกละเมิด เพื่อรักษาข้อมูลส่วนบุคคลไม่ให้เกิดการรั่วไหลจนอาจเกิดผลกระทบร้ายแรงตามมาในภายหลัง แต่หากเราพิจารณาลึกลงไป ทั้งสองสิ่งนี้ก็ยังมีข้อแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด

Cyber Security 

จะเกี่ยวข้องกับ Digital Information และข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่บนระบบ ICT เพื่อป้องกันข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงป้องกันการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์

Cyber Security สามารถแบ่งออกได้ 5 ประเภท
  1. Critical Infrastructure Security 
    เป็นการรักษาความปลอดภัยของระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ระบบในโรงพยาบาล ระบบไฟจราจร ระบบไฟฟ้า ระบบต่าง ๆ ในโรงพยาบาลหรือศูนย์การค้า เป็นต้น ระบบโครงสร้างพื้นที่เหล่านี้มักจะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งง่ายต่อการถูกโจมตี ดังนั้นบริษัทและองค์กรควรจะให้ความสำคัญโดยการทำแผนสำรองไว้ใช้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เพราะถ้าหากไม่มีแผนสำรองเลย บริษัทและองค์กรอาจเกิดความเสียหายได้\
  2. Application Security 
    เป็นการรักษาความปลอดภัยในระบบ Application เช่น โปรแกรม Antivirus, Firewall หรือโปรแกรมการเข้ารหัส ซึ่งจะมีการใช้ทั้ง Hardware และ Software ควบคู่กันไปเพื่อจัดการกับภัยคุกคามที่เกิดขึ้น ในปัจจุบันภัยคุกคามมักจะเกิดขึ้นตอน Application อยู่ในขั้นตอนที่กำลังพัฒนา ดังนั้นการมี Application Security จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการป้องกันข้อมูลใน Application
  3. Network Security 
    เป็นการรักษาความปลอดภัยของระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อป้องกันการถูกคุกคามจึงจำเป็นที่จะต้องมีระบบที่พัฒนามาเพื่อจัดการกับบุคคลภายนอกที่เข้ามาใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งอาจจะทำโดยการใช้ Machine Learning บางตัวเพื่อรับส่งข้อมูลและคอยแจ้งเตือนถึงความผิดปกติก็ได้
  4. Cloud Security 
    เป็นการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลที่เก็บลงในคลาวด์ ถึงแม้ว่าในตอนแรก ผู้ใช้งานจะบอกว่า Cloud Computing มีการรักษาความปลอดภัยต่ำ แรกๆองค์กรจึงเลือกที่จะเก็บข้อมูลไว้ในเซิร์ฟเวอร์ของทางบริษัทหรือองค์กรของตนเอง แต่ในปัจจุบัน ได้มีการเปิดเผยออกมาแล้วว่า การเก็บข้อมูลบน Cloud Computing นั้นมีความปลอดภัยมากกว่าถ้ามี Cloud Security ข้อดีของมันก็คือ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาในการดูแลเซิร์ฟเวอร์
  5. Internet of Thing Security
    หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า IoT  ซึ่งเป็นการรักษาความปลอดภัยให้อุปกรณ์ IoT เนื่องจากพอมีเทคโนโลยี IoT เข้ามา มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการโดนคุกคาม เนื่องจากอุปกรณ์ IoT มักจะสามารถส่งข้อมูลถึงกันได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ดังนั้นจึงต้องมี IoT Security เพื่อใช้เป็นมาตรการในการรักษาความปลอดภัยให้บริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ 

 

เหตุผลที่องค์กรต้องทำระบบ IT Security

  1. สร้างความเชื่อมั่นให้กับพันธมิตรทางธุรกิจและลูกค้าผู้ใช้บริการ
  2. ป้องกันข้อมูลขององค์กรและข้อมูลส่วนบุคคลไม่ให้ถูกนำไปใช้ในทางทุจริต
  3. ป้องกันการโจรกรรมข้อมูลเพื่อเรียกค่าไถ่จากแฮกเกอร์
  4. ปฏิบัติตามพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)
  5. ปฏิบัติตามมาตรการทางสารสนเทศ (IT Policy)