Data Center
2023-04-26 17:18:35 | ดู 0DATA CENTER ประกอบด้วยพื้นที่ในการจัดเก็บคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายต่าง ๆ ได้แก่ สวิตช์ เราเตอร์ สายเคเบิล ไปจนถึงชั้นวางต่าง ๆ โดย ระบบ data center จะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่เพียงพอทั้งเรื่องของพลังงานไฟฟ้า แหล่งจ่ายไฟสำรอง ระบบระบายความร้อน ระบบปรับอากาศ เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
ระบบ Data Center
เป็นโครงสร้างสำคัญของระบบ IT ในองค์กรที่ต้องอาศัยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะองค์กรที่ไม่มีศูนย์ข้อมูลของตัวเองจะต้องเลือกใช้ ระบบ data center ของผู้ให้บริการที่มีประสิทธิภาพ โดยการพิจารณาถึงโครงสร้างของสถาปัตยกรรม การออกแบบระบบ ความปลอดภัย การบำรุง ดูแลรักษา การใช้ซอฟต์แวร์และโครงสร้างการจัดการที่ทันสมัย มีระบบการสำรองข้อมูล และสามารถการแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงทีเมื่อมีเหตุการณ์คับขันเกิดขึ้น เป็นต้น
Tier I หรือ Tier 1 (Basic Capacity)
คือระดับความจุพื้นฐานในการสนับสนุนระบบไอทีสำหรับการตั้งค่าในสำนักงานและอื่นๆ ข้อกำหนดบางประการสำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกระดับ I ได้แก่
- เครื่องสำรองไฟ (UPS) สำหรับไฟดับและไฟกระชาก
- พื้นที่แท้จริงสำหรับระบบไอที
- อุปกรณ์ทำความเย็นเฉพาะที่ทำงาน 24/7
- เครื่องปั่นไฟสำรอง
- Uptime 99.671%
- Maximum downtime 1729 นาที หรือ 28 ชั่วโมง 48 นาที/ปี
Tier II หรือ Tier 2 (Redundant Capacity)
มีอุปกรณ์ชุดสำรองในระบบที่สำคัญ ประกอบด้วยระบบจ่ายไฟ และระบบทำความเย็นสำรองที่ช่วยให้วางแผนด้านการซ่อมบำรุงได้ และเพิ่มความปลอดภัยจากการหยุดชะงักของกระบวนการทางด้านไอทีซึ่งมีผลมาจากอุปกรณ์ในโครงสร้างพื้นฐานของไซต์หยุดทำงาน อุปกรณ์ชุดสำรอง ได้แก่
1. อุปกรณ์ไฟฟ้า
2. อุปกรณ์ทำความเย็นต่างๆ
3. เครื่องสูบน้ำ
4. เครื่องกำเนิดไฟฟ้า
- Uptime 99.741%
- Maximum downtime 1361.3 นาที หรือ 22 ชั่วโมง 41 นาที 18 วินาที/ปี
Tier III หรือ Tier 3 (Concurrently maintenance DC)
Data Center ระดับTier 3 ยังคงสามารถทำงานอยู่ได้ในขณะที่มีการซ่อมบำรุงหรือเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ในส่วนที่ต้องการ มีระบบจ่ายไฟฟ้าสำรอง และระบบทำความเย็นเพิ่มขึ้นมาจากส่วนประกอบสำคัญสำรองของ Tier 2
- Uptime 99.982%
- Maximum downtime 94.6 นาที หรือ 1 ชั่วโมง 34 นาที 36 วินาที/ปี
Tier IV หรือ Tier 4 (Fault Tolerance)
Data Center ที่ยังคงสามารถทำงานอยู่ได้เมื่อเกิดปัญหาหรือข้อผิดพลาด โดยโครงสร้างพื้นฐานของระบบTier 4 จะถูกสร้างไว้บน Tier 3 และมีการเพิ่มแนวคิดเรื่องความทนทานต่อการล้มเหลวของระบบ คือหากมีอุปกรณ์หรือระบบจ่ายกระแสไฟฟ้าเกิดปัญหาก็ยังสามารถดำเนินงานได้ต่ออย่างต่อเนื่อง
- Uptime 99.995%
- Maximum downtime 26.3 นาที หรือ 26 นาที 18 วินาที/ปี
เลือก Data Center ยังไง?
องค์ประกอบสำคัญที่ต้องพิจารณาในการออกแบบ
1. การเลือกสถานที่ติดตั้งศูนย์ข้อมูล
การเลือกสถานที่ตั้งของข้อมูลต้องคำนึงถึงความปลอดภัยรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ อุกทกภัย วาตภัย พายุหิมะ ภูเขาไฟระเบิด รวมทั้งภัยที่เกิดจากการจลาจล ที่เกิดจาการกระทำของมนุษย์ เช่นการลอบวางระเบิด การก่ออาชญากรรมรูปแบบต่างๆ
2. การเลือกสถานที่ติดตั้งศูนย์ข้อมูล
ระบบไฟฟ้าในศูนย์คอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก แหล่งจ่ายไฟฟ้าหลักต้องมีขนาดเพียงพอต่อการใช้งานและรองรับได้อย่างเหมาะสม ปัจจุบันออกแบบให้เป็นแบบ Dual Source สำหรับอุปกรณ์ โดยมีระบบสำรองไฟฟ้าอัตโนมัติ (UPS) ทั้งแบบที่เป็น Dynamic หรือ Static UPS รวมทั้งมีระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอัตโนมัติ (Generator System) เพื่อสำรองไฟฟ้าใช้ในกรณีที่เกิดไฟฟ้าขัดข้อง
3. ระบบโครงสร้างเครือข่ายภายในศูนย์คอมพิวเตอร์
การเชื่อมต่อภายในศูนย์คอมพิวเตอร์ มีความจำเป็นต้องใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อจำนวนมาก และหลายแบบ เช่น สาย UTP, สาย Coaxial และสาย Fiber Optic ซึ่งต้องคำนวณถึงจำนวนสาย และปริมาณอุปกรณ์ โดยคำนึงถึงมาตรฐานหลักได้แก่ ANSI/TIA942 ซึ่งต้องกำหนดตำแหน่งห้อง อุปกรณ์ และแหล่งกระจายสายสัญญาณให้เหมาะสม
4. ระบบปรับอากาศแบบควบคุมความชื้น
ระบบปรับอากาศในศูนย์คอมพิวเตอร์ จะถูกออกแบบให้ใช้ระบบปรับอากาศแบบควบคุมความชื้น (Precision Air Condition System) ความร้อนที่เกิดจากการทำงานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นภาระความร้อนที่เรียกว่า ความร้อนสัมผัส (Sensible Heat) ใช้ในการพิจารณาขนาดทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศที่ต้องควบคุมที่อุณหภูมิ 22+/- 2 องศาเซลเซียล รวมถึงต้องออกแบบการกระจายลมด้วย อย่างเช่น ออกแบบให้มีการกระจายลมใต้พื้นยก
5. ระบบรักษาความปลอดภัย
ภายในศูนย์คอมพิวเตอร์ควรมีระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคลที่มิได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำความเสียหายได้ ระบบรักษาความปลอดภัยเชิงกายภาพ ประกอบไปด้วย ระบบควบคุมการเข้า-ออกอัตโนมัติ ระบบกล้องวงจรปิด ระบบตรวจจับน้ำรั่วซึมใต้พื้นยก ระบบตรวจจับควันความไวสูง ซึ่งทำงานประสานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ สำหรับศูนย์คอมพิวเตอร์ ที่ถูกออกแบบในปัจจุบัน คือระบบดับเพลิงแบบอัตโนมัติโดยหมอกน้ำ (Water Mist System) ซึ่งหัวจ่ายจะปล่อยละอองน้ำที่มีลักษณะเป็นหมอกน้ำแต่ละหยดมีความละเอียดไม่ถึง 100 ไมครอน หรือ ระบบดับเพลิงด้วยสารสะอาด ไม่ว่าจะเป็น IG-100, IG-55, Novec1230 ที่สามารถนำมาใช้ในศูนย์คอมพิวเตอร์ โดยอ้างอิงมาตรฐาน NFPA2001
จุดเด่น
- พร้อมเริ่มต้นใช้งานได้อย่างรวดเร็ว
- ช่วยลดความซับซ้อนใน Datacenter
- รองรับการทำ High Availability ได้ในตัว
- สามารถเพิ่มขยายได้แบบ Scale-out
- สามารถบริหารจัดการระบบ Server, Storage และ Virtualization ได้จากศูนย์กลาง
- ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนในระบบ Virtualization สำหรับองค์กร
ประโยชน์ของ Data Center
- ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
- เพิ่มความปลอดภัยของข้อมูล
- ช่วยให้องค์กรเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ